ที่ตั้งสาขา
Menu
TH EN
094 678 2888

ทะลวง แคต ??แล้วแรงจริงหรือ!!

หมวดหมู่: Car Knowledge | 11 มิถุนายน 2561 | จำนวนเข้าชม (9,157)

ถามกันมามากเหลือเกินกับการตัด-ถอดหรือทะลวง “แคต” ออกนั้นทำให้รถเดิม ๆ มีความแรงขึ้นจริงหรือ จริง ๆ แล้ว “รู้ก่อนเหยียบ”เคยนำเสนอเรื่องราวของ “แคต” หรือ“แคตตาไลติกคอนเวอร์เตอร์” มาแล้วในบทความเรื่อง “แคต” นั้นสำคัญไฉน?? แต่ก็ขอนำมาทบทวนอีกครั้งสำหรับท่านที่ยังไม่เคยรู้

“แคต”ชื่อติดหูที่คนไทยมีชื่อจริงว่า “แคตตาไลติกคอนเวอร์เตอร์” ( catalytic converter) หมายถึง “เครื่องฟอกไอเสียเชิงเร่งปฏิกิริยา” เป็นอุปกรณ์สำหรับ กำจัด ลด ปริมาณมลพิษ ที่เกิดจากการเผาไหม้ไม่สมบูรณ์ของเครื่องยนต์ ก่อนปล่อยออกสู่บรรยากาศ โดย“แคตตาไลติกคอนเวอร์เตอร์”จะทำหน้าที่เปลี่ยนไอเสีย 3 ชนิดประกอบด้วย สารไฮโดรคาร์บอน ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ และก๊าซไนโตรเจนออกไซด์ โดยใช้ความร้อนจากไอเสีย มาทำปฎิกริยาเคมี รีดักชัน และ ออกซิเดชัน ให้เป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ,ไนโตรเจน ,ออกซิเจน และไอน้ำ

สหรัฐอเมริกา อ้างว่าจากการเก็บข้อมูลพบว่ารถยนต์ที่ผลิตก่อนปี พ.ศ. 2509 มีค่าเฉลี่ยในการวิ่งระยะทาง 1 ไมล์ หรือ ประมาณ 1.6 กิโลเมตร จะปลดปล่อยมลพิษหรือก๊าซพิษออกมาสู่บรรยากาศหลายชนิด เช่น ไอน้ำมันที่เผาไหม้ไม่หมดหรือสารไฮโดรคาร์บอนออกมาประมาณ 10.6 กรัม ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ ประมาณ 84 กรัม ก๊าซในกลุ่มไนโตรเจนออกไซด์ ประมาณ 4.1 กรัม ทำให้หน่วยของรัฐออกมากดดันให้ผู้ผลิตรถยนต์ต้องติดตั้ง “เครื่องฟอกไอเสีย” ในรถยนต์

ทั้งนี้ในปี พ.ศ. 2517 สหรัฐอเมริกาได้ออกกฎหมายให้รถยนต์ทุกคันต้องติดตั้งอุปกรณ์บำบัดมลพิษจากเสีย ตามมาด้วยญี่ปุ่นในปีต่อมา ดังนั้นในปี พ.ศ. 2518จึงมีรถยนต์ที่ติดตั้งเครื่องฟอกไอเสีย ออกมาจำหน่ายเป็นครั้งแรก โดยในขณะนั้นเป็นเครื่องฟอกแบบสองทาง สามารถลดมลพิษได้เฉพาะสารประกอบไฮโดรคาร์บอนกับก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์เท่านั้น และพัฒนาให้สามารถลดก๊าซไนโตรเจนออกไซด์ในภายหลัง ในส่วนของประเทศไทยได้ออกกฎหมายบังคับให้รถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์เบนซิน ต้องติดตั้งอุปกรณ์บำบัดไอเสียในปี พ.ศ. 2535 และมีผลบังคับใช้ในปีถัดมา

เทคนิคควรรู้

-การถอดหรือทะลวง “แคตตาไลติกคอนเวอร์เตอร์” ออกเพื่อหวังให้รถแรงขึ้น ถือเป็นการได้ไม่คุ้มเสียเพราะอาจจะได้ความแรงจากการคายไอเสียได้เร็วขึ้นแค่นิดหน่อย แต่ในรถยนต์บางรุ่นอาจไม่รู้สึกเลยด้วยซ้ำ แต่สิ่งที่ต้องแลกมาคือรถของท่านจะสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงมากขึ้น แถมยังปล่อยมลพิษที่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตและทำลายสิ่งแวดล้อมเพิ่มมากขึ้น

-จะรู้ได้อย่างไรว่า“แคตตาไลติกคอนเวอร์เตอร์” เสื่อมสภาพ ให้สังเกตเมื่อเสื่อมสภาพกลิ่นไอเสียรถจะเหม็นมากกว่าปกติจนแสบจมูก และเมื่อตรวจสภาพรถประจำปีค่า CO จะสูงมากเกินกว่าปกติ

-“แคตตาไลติกคอนเวอร์เตอร์” เสื่อมสภาพได้จาก 2สาเหตุ

1.เสื่อมสภาพตามอายุการใช้งาน กล่าวคือเมื่อใช้งานเครื่องยนต์เกิน1 แสนกิโลเมตรขึ้นไป ลักษณะจะคงรูปทางกายภาพเดิมๆ ไม่ตันไม่แตก ไม่หัก แต่สารเคลือบที่ทำปฏิกิริยากับไอเสีย เสื่อมลง ประสิทภาพการลดไอเสียก็ลดลงเช่นกัน

2.เสื่อมสภาพจากการเผาไหม้ที่ผิดปกติ เช่น รถติดแก๊ส ความร้อนจากห้องเผาไหม้ สูงเกินกว่าที่ตัวแคตตาไลติกคอนเวอร์เตอร์ จะรับได้ ก็จะละลายจนกลายเป็นก้อนและแตกในที่สุด

-“แคตตาไลติกคอนเวอร์เตอร์” ตันได้หรือไม่ สำหรับเครื่องยนต์เบนซิน ไม่มีวันตันจากการใช้งานปกติ จะมีก็แค่การเสื่อมสภาพ ส่วนในรถเครื่องยนต์ดีเซลจะมีเขมาเกาะตามรังผึ้งเมื่ออายุการใช้งานเกิน แสนกิโลเมตรแต่ก็ไม่ถึงกับตัน

-สาเหตุที่ร้านท่อไอเสีย ชอบเชียร์ให้ตัด“แคตตาไลติกคอนเวอร์เตอร์”ด้วยสารพัดเหตุผล เพราะ“แคตตาไลติกคอนเวอร์เตอร์”ที่ตัดออกสามารถนำไปขายต่อได้ราคาดี

-อายุการใช้งาน“แคตตาไลติกคอนเวอร์เตอร์”ในปัจุบันมีอายุการใช้งานที่ยาวนานขึ้น ส่วนใหญ่มากกว่า 1.5แสนกิโลเมตร เนื่องจากเทคโนโลยีของระบบจ่ายน้ำมัน ระบบจุดระเบิด ที่แม่นยำ ส่งผลให้ได้การเผาไหม้ที่สมบูรณ์ ก็ส่งผลให้“แคตตาไลติกคอนเวอร์เตอร์”มีอายุยืนขึ้น

-เมื่อ“แคตตาไลติกคอนเวอร์เตอร์”เสื่อมสภาพ-เสียหาย

1.หากที่มีทุนทรัพย์มากพอก็สามารถเปลี่ยนตัวใหม่แต่มีราคาสูง

2.หาของมือสองตามเชียงกงราคาถูก

3.ใช้หม้อพักแทนซึ่งมีหลายรูปแบบหลายสูตรแต่ก็ต้องทำใจว่ารถของท่านจะปล่อยมลพิษให้โลกใบนี้เพิ่มขึ้นด้วย 

ขอบคุณข้อมูลจาก : บริษัท มาสเตอร์ มอเตอร์ เซอร์วิส (ประเทศไทย) จำกัด

อัพเดทข่าวสารผ่านทาง LINE
ไม่พลาดทุกโปรโมชั่นสุดคุ้มให้คุณได้รับทราบ
Add Friend ที่ ID : @masterusedcar

อื่นๆ

News and Events
20 ตุลาคม 2566
Auto News
22 กันยายน 2566
Auto News
22 กันยายน 2566
Auto News
25 กรกฎาคม 2566
การใช้คุกกี้ของเรา

เราใช้คุกกี้ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ของเรา และเรามีความประสงค์จะใช้คุกกี้ทางเลือกเพื่อช่วยให้เราสามารถปรับปรุงเว็บไซต์ของเรา โดยเราจะไม่ใช้คุกกี้ทางเลือกจนกว่าท่านจะอนุญาตให้เราเปิดใช้งานคุกกี้ดังกล่าว

ท่านสามารถศึกษารายละเอียดของการใช้คุกกี้ได้จากนโยบายการใช้คุกกี้ของเรา นโยบายการใช้คุกกี้ ทั้งนี้ หากท่านกดยอมรับคุกกี้ทั้งหมด จะหมายความว่าท่านยินยอมให้เราบันทึกและใช้คุกกี้ทั้งหมดจากอุปกรณ์ที่ท่านใช้ในการเข้าเว็บไซต์ของเรา รวมถึงเพื่อทำให้การเลื่อนสำรวจหน้าเว็บและการวิเคราะห์การใช้เว็บไซต์มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น รวมถึงเพื่อสนับสนุนการทำกิจกรรมทางการตลาดของเรา

ยอมรับคุกกี้ทั้งหมด