ที่ตั้งสาขา
Menu
TH EN
094 678 2888

ฟรีปั๊ม!! รู้จักไว้ตัวไม่ร้อน?

หมวดหมู่: Car Knowledge | 11 มิถุนายน 2561 | จำนวนเข้าชม (47,831)

หากใครเป็นสาวก รถยนต์ขับเคลื่อนล้อหลัง อาทิรถกระบะทั่ว ๆ ไป ก็คงรู้จักเจ้า “ฟรีปั๊ม” กันอยู่บ้างแต่เชื่อว่าหลาย ๆ ท่านคงจะสับสนหน้าที่กา รทำงานของเจ้า “ฟรีปั๊ม”กันอยู่บ้าง “รู้ก่อนเหยียบ” จึงขอนำทุกท่านมารู้จักเจ้า“ฟรีปั๊ม”กัน


“ฟรีปั๊ม”มีชื่อจริงว่า “พัดลมฟรีคลัตช์” คือพัดลมขนาดใหญ่ นิยมติดตั้งมาจากผู้ผลิตรถยนต์ อย่างแพร่หลายในรถยนต์ขับเคลื่อนล้อหลัง ทั้งเครื่องยนต์ดีเซลและเบนซิน โดย “ฟรีปั๊ม”ที่มีใบพัดลมประกอบอยู่ด้วยจะทำหน้าที่ดูดอากาศให้ไหลผ่านหม้อน้ำเพื่อระบายและรักษาระดับความร้อนของเครื่องยนต์ให้เหมาะสม

การทำงาน ภายในตัว “ฟรีปั๊ม”จะมีน้ำยา(ซิลิโคน)ซึ่งมีคุณสมบัติพิเศษคือเมื่อรับเอาอุณหภูมิที่สูงขึ้นจะมีความหนืดเพิ่มขึ้น ดังนั้นเมื่อติดเครื่องยนต์ใหม่ ๆ ตัว”ฟรีปั๊ม” จะยังมีความหนืดที่ไม่มาก ส่งผลให้พัดลมยังไม่แรงนัก แต่เมื่อความร้อนเพิ่มสูงขึ้น น้ำยาภายในก็จะหนืดขึ้นความฟรีน้อยลงส่งผลให้พัดลมก็จะแรงขึ้นเพื่อให้สามรถระบายความร้อนจากหม้อน้ำได้อย่างเพียงพอและมีประสิทธิภาพ

เมื่อเราใช้งานรถยนต์มาเป็นเวลานาน เกิน 1 แสนกิโลเมตร แล้วเกิดปัญหาความร้อนเพิ่มสูงขึ้นตรวจสอบหม้อน้ำและระบบหล่อเย็นหากยังปกติดี “ฟรีปั๊ม”ก็หนีไม่พ้นต้องตกเป็นจำเลย โดยสาเหตุส่วนใหญ่มักมาจากน้ำยาภายในรั่วซึมหรือ เสื่อมสภาพ ส่งผลให้มีความหนืดไม่มากพอ จนไม่สามารถระบายความร้อนจากหม้อน้ำได้ทัน แต่อาการดังกล่าวจะค่อยเป็นค่อยไป ทำให้มีเวลาเตรียมตัวนำรถเข้าซ่อม

เทคนิคควรรู้

-วิธีตรวจสอบ“ฟรีปั๊ม” ดับเครื่องยนต์แล้วใช้มือจับใบพัดลมขยับดู หากไม่รู้สึกหนืดหรือหนืดเพียงเล็กน้อยนั้นเป็นลางบอกเหตุให้รู้ว่าถึงเวลาต้องดูแล “ฟรีปั๊ม” กันแล้ว

-วิธีซ่อม หากไม่มีการรั่วซึม ช่างจะทำการผ่า “ฟรีปั๊ม” ออกแล้วเติมน้ำยาเข้าไปใหม่ แต่หากซีลรั่ว-ลูกปืนแตก-หรือไม่สามารถผ่าเติมน้ำยาได้ ก็ต้องเปลี่ยน “ฟรีปั๊ม”ใหม่ครับ

-การเติมน้ำยา “ฟรีปั๊ม” ส่วนใหญ่ในร้านอะไหล่บ้านเรา มักมีน้ำยาอยู่ 2 เบอร์คือ10000Cst และเบอร์ 30000Cst ทั้งนี้หากนำยาพร่อง ให้ใช้เบอร์10000Cst เติมลงไป1ขวด แต่หากเป็นเบอร์ 30000Cst ซึ่งมีความหนืดสูงกว่าไม่ควรเติมเกินครึ่งขวด กรณี เอาน้ำยาเก่าออกจนหมด เติมเบอร์10000Cst หลอดครึ่งถึง2หลอด แต่ถ้าเป็นเบอร์ 30000Cst ให้เติมไม่เกิน 1 ขวด

-หากเติมมากเกินไป ในยามขับขี่ที่รอบสูง ๆ เสียงพัดลมจะดังเข้าห้องโดยจนน่ารำคาญ และยังอาจทำให้ซีล “ฟรีปั๊ม” แตกในที่สุด

ขอบคุณข้อมูลจาก  
บริษัท มาสเตอร์ มอเตอร์ เซอร์วิส (ประเทศไทย) จำกัด

อื่นๆ

News and Events
20 ตุลาคม 2566
Auto News
22 กันยายน 2566
Auto News
22 กันยายน 2566
Auto News
25 กรกฎาคม 2566
การใช้คุกกี้ของเรา

เราใช้คุกกี้ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ของเรา และเรามีความประสงค์จะใช้คุกกี้ทางเลือกเพื่อช่วยให้เราสามารถปรับปรุงเว็บไซต์ของเรา โดยเราจะไม่ใช้คุกกี้ทางเลือกจนกว่าท่านจะอนุญาตให้เราเปิดใช้งานคุกกี้ดังกล่าว

ท่านสามารถศึกษารายละเอียดของการใช้คุกกี้ได้จากนโยบายการใช้คุกกี้ของเรา นโยบายการใช้คุกกี้ ทั้งนี้ หากท่านกดยอมรับคุกกี้ทั้งหมด จะหมายความว่าท่านยินยอมให้เราบันทึกและใช้คุกกี้ทั้งหมดจากอุปกรณ์ที่ท่านใช้ในการเข้าเว็บไซต์ของเรา รวมถึงเพื่อทำให้การเลื่อนสำรวจหน้าเว็บและการวิเคราะห์การใช้เว็บไซต์มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น รวมถึงเพื่อสนับสนุนการทำกิจกรรมทางการตลาดของเรา

ยอมรับคุกกี้ทั้งหมด