ที่ตั้งสาขา
Menu
TH EN
094 678 2888

หัวเทียน สิ่งสำคัญ??รู้จักไว้!!

หมวดหมู่: Car Knowledge | 11 มิถุนายน 2561 | จำนวนเข้าชม (7,449)

หลายๆ ท่านคงสงสัยว่าเจ้า “หัวเทียน” มีความสำคัญอย่างไรและมีอายุการใช้งานนานแค่ไหน “รู้ก่อนเหยียบ” จึงขอนำทุกท่านมารู้จักกับเจ้า หัวเทียน

“หัวเทียน” เป็นอุปกรณ์สำคัญทำหน้าที่จุดระเบิดในเครื่องยนต์เบนซิน แก๊ส และก๊าซ หัวเทียนจะรับแรงดันกระแสไฟฟ้าไม่ต่ำกว่า 10,000 โวลต์ ทนความร้อนได้ไม่ต่ำกว่า 2,000 องศาเซลเซียส รับแรงอัดได้อย่างน้อย 50 กก./ตร.ซม.

“หัวเทียน” ถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ “หัวเทียนร้อน” เหมาะสำหรับเครื่องยนต์ที่ทำงานรอบต่ำๆ และ “หัวเทียนเย็น” ที่เหมาะสำหรับการใช้งานใน รอบสูงๆ สำหรับผู้ที่มีนิสัยเท้าหนักขับรถเร็ว
“หัวเทียน” ถูกกำหนดด้วยตัวเลข ตัวเลขยิ่งน้อยหมายถึงหัวเทียนร้อน ตัวเลขยิ่งมากหมายถึงหัวเทียนเย็น ทั้งนี้ควรเลือกใช้หัวเทียนตามมาตรฐานที่กำหนดมาจากผู้ผลิต โดยอาจจะปรับลด – เพิ่ม เบอร์ได้เล็กน้อยได้ตามนิสัยการขับขี่

ทั้งนี้ในการ จุดระเบิด จะต้องอาศัยปัจจัยประกอบหลาย ๆ ส่วนทั้ง อากาศ น้ำมัน อุณหภูมิในห้องเผาไหม้ และการจุดระเบิดของ หัวเทียน โดยมี อีซียู (สมองกล ) เป็นตัวคำนวณให้หัวฉีด ฉีดเชื้อเพลิงอย่างพอเหมาะเข้าไป ในห้องห้องเผาไหม้ โดยวิเคราะห์ร่วมกับเซ็นเซอร์ต่าง ๆ ก่อนประมวลผล เมื่อน้ำมันผสมคลุกเคล้ากับไอดีจนได้ที่ หัวเทียน จะเป็นตัวจุดระเบิดประกายไฟแรงสูง ตามจังหวะการสั่งของ อีซียู จนเครื่องยนต์ติด ส่งกำลังผ่านชุดเกียร์ส่งผลให้รถเคลื่อนที่ไปได้

เทคนิคควรรู้

จริง ๆ แล้ว “หัวเทียน” ธรรมดา ๆ สามารถใช้งานได้ยาวนานกว่า 2 หมื่น กม.อย่างสบาย ๆ หากมีการปรับแต่งระยะเขี้ยวให้เหมาะสม อย่างสม่ำเสมอ แต่หากเขี้ยวสึกหรอมาก หรือฉนวนกระเบื้องแตกร้าว ก็ต้องเปลี่ยนใหม่ ผู้ผลิตรถยนต์หลาย ๆ ยี่ห้อจึงตัดปัญหา ด้วยการแนะนำให้เปลี่ยนทุกๆ 2 หมื่นกม. ซึ่งออกจะสิ้นเปลืองเกินความจำเป็น ที่สำคัญหัวเทียนใหม่แกะกล่อง จะต้องถูกตั้งระยะห่างของเขี้ยวตามที่ผู้ผลิตเครื่องยนต์นั้น ๆกำหนดไว้ (ระยะห่างเขี้ยวหัวเทียนมาตรฐานประมาณ 0.6-0.8 มิลลิเมตร หรือ 0.024-0.031 นิ้ว) หากไม่ได้ระยะที่กำหนด หัวเทียนใหม่ ๆ อาจทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ จนสู้หัวเทียนเก่าที่ถอดเปลี่ยนไม่ได้ด้วยซ้ำ

ส่วนหัวเทียน แพลตตินั่มและไอริเดียม ถูกออกแบบมาให้มีประสิทธิภาพสูงกว่าหัวเทียนธรรมดา โดยจะมีขั้วไฟฟ้ากลางที่ทำจากโลหะผสมแพลตตินั่มและไอริเดียม เพื่อให้มีประสิทธิภาพในการจุดระเบิดสูงสุดและยังสามารถทนความร้อนได้ดี และสึกหรอน้อยกว่ารวมถึงมีราคาที่สูงกว่า หัวเทียนธรรมดา ผู้ผลิตจึงการันตี ว่าสามารถใช้งานได้ยาวนานถึง 1 แสนกม. สำหรับรถที่ใช้น้ำมัน แต่สำหรับรถที่ดมแก๊ส-ก๊าซ ต้องตรวจสภาพตามระยะอย่างสม่ำเสมอ

สีหัวเทียนบอกสุขภาพเครื่องยนต์ได้

-หัวเทียนแห้ง คราบที่เกาะบริเวณเขี้ยวหัวเทียนมีสีน้ำตาลอ่อนๆ สภาพเช่นนี้ เป็นลักษณะของการเผาไหม้ ของเครื่องยนต์ที่สมบูรณ์แบบ สุขภาพเครื่องยนต์ การทำงานของระบบต่างๆ ยังอยู่ในสภาพปกติดี

-หัวเทียนมีคราบเขม่าสีขาว-สีเหลืองจับอยู่ ลักษณะเช่นนี้บอกให้รู้ว่า องศาการจุดระเบิดผิดเพี้ยน หรือที่เราเรียกกันว่า ไฟอ่อน การแก้ไข คือปรับตั้งองศาจานจ่ายใหม่ให้แก่ขึ้น และควรทำความสะอาดหรือเปลี่ยนหัวเทียนใหม่ด้วย

-หัวเทียนมีสีดำแห้ง สามารถเช็ดออกได้ง่าย ลักษณะเช่นแสดงว่าส่วนผสมหนา (น้ำมันเชื้อเพลิง มีอัตราส่วนผสมที่มากเกินไป) คราบที่พบคือส่วนที่ตกค้างของละอองน้ำมันที่มากเกินกว่าความต้องการของเครื่องยนต์ การแก้ไขให้ช่างผู้ชำนาญ ตรวจเช็ค-ซ่อมระบบการจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิง

-หัวเทียนแฉะน้ำมันเครื่อง บ่งบอกว่าเครื่องยนต์ เกิดการสึกหรอในกระบอกสูบ จนน้ำมันเครื่องเล็ดลอดเข้าสู่ห้องเผาไหม้ สาเหตุอาจเกิดจากแหวนลูกสูบ – กระบอกสูบสึกหรอ-ซีลไกด์วาล์วเสื่อมสภาพ

-หัวเทียนกร่อนและไหม้ แสดงว่าการทำงานของเครื่องยนต์ มีอุณหภูมิที่สูงเกินไป สาเหตุอาจเนื่องมาจากการเลือกใช้เบอร์ของหัวเทียนไม่เหมาะสมกับสภาพการใช้งาน จนหัวเทียนไม่สามารถคายความร้อนออกสู่ภายนอกได้อย่างเหมาะสม หรือเกิดจากการชิงจุดระเบิด (PRE-IGNITION) อันเนื่องมาจากเครื่องยนต์มีอุณหภูมิร้อนจัด จนส่วนปลายเขี้ยวหัวเทียนระอุเป็นสีแดงเกือบหลอมละลาย

ก็ลองสังเกตกันดูนะครับว่าหัวเทียนรถยนต์ของท่านอยู่ในสภาพใด ถึงเวลาที่จะเปลี่ยนใหม่หรือยัง......

ขอบคุณข้อมูลจาก
 
บริษัท มาสเตอร์ มอเตอร์ เซอร์วิส (ประเทศไทย) จำกัด 

อื่นๆ

News and Events
20 ตุลาคม 2566
Auto News
22 กันยายน 2566
Auto News
22 กันยายน 2566
Auto News
25 กรกฎาคม 2566
การใช้คุกกี้ของเรา

เราใช้คุกกี้ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ของเรา และเรามีความประสงค์จะใช้คุกกี้ทางเลือกเพื่อช่วยให้เราสามารถปรับปรุงเว็บไซต์ของเรา โดยเราจะไม่ใช้คุกกี้ทางเลือกจนกว่าท่านจะอนุญาตให้เราเปิดใช้งานคุกกี้ดังกล่าว

ท่านสามารถศึกษารายละเอียดของการใช้คุกกี้ได้จากนโยบายการใช้คุกกี้ของเรา นโยบายการใช้คุกกี้ ทั้งนี้ หากท่านกดยอมรับคุกกี้ทั้งหมด จะหมายความว่าท่านยินยอมให้เราบันทึกและใช้คุกกี้ทั้งหมดจากอุปกรณ์ที่ท่านใช้ในการเข้าเว็บไซต์ของเรา รวมถึงเพื่อทำให้การเลื่อนสำรวจหน้าเว็บและการวิเคราะห์การใช้เว็บไซต์มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น รวมถึงเพื่อสนับสนุนการทำกิจกรรมทางการตลาดของเรา

ยอมรับคุกกี้ทั้งหมด