ที่ตั้งสาขา
Menu
TH EN
094 678 2888

4 โรคพบบ่อย จากพฤติกรรมคนวัยทำงาน

หมวดหมู่: | 10 เมษายน 2561 | จำนวนเข้าชม (3,409)

 

ก้าวเข้าสู่สัปดาห์ที่สองของการเริ่มต้นศักราชใหม่ ที่หลายคนยังคงอิ่มเอมกับบรรยากาศการฉลองปีใหม่กับครอบครัว และอย่างที่ทราบกันดีกว่างานเลี้ยงย่อมมีวันเลิกรา หนุ่มสาวมนุษย์เงินเดือนก็ต้องกลับมาทำหน้าที่ของตนเองเช่นเคย แต่ทราบหรือไม่ว่าพฤติกรรมที่ทำจนเคยชินก็อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของคนวัยทำงานแบบไม่รู้ตัว

พฤติกรรมเคยชินที่ส่งผลต่อสุขภาพวัยทำงาน

ภาวะซึมเศร้า เบื่อ เก็บตัว รู้สึกไร้ค่า

อารมณ์เบื่อ เซ็ง เหงา เศร้าเป็นกันได้ทั่วไปก็จริง แต่หากถึงขั้นกระทบต่อการดำเนินชีวิต และมีความรู้สึกไม่อยากอยู่บนโลกใบนี้ นั่นอาจเป็นภาวะซึมเศร้าที่ถือว่าเป็นโรคชนิดหนึ่งก็ว่าได้ ซึ่งปัจจุบันมีจำนวนผู้ป่วยซึมเศร้าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและก่อให้เกิดความสูญเสียมากขึ้นเรื่อยๆ และเป็นภาวะที่พบมากในวัยทำงาน นอกจากนั้นการเป็นคนมองโลกในแง่ร้ายอยู่เสมอ มีโรคประจำตัว หรือการกินยาบางชนิดก็อาจก่อให้เกิดอาการซึมเศร้าได้

คุณเข้าข่ายภาวะซึมเศร้าหรือเปล่า

-มีอารมณ์เศร้าอยู่เกือบตลอดทั้งวัน

-ความสนใจหรือความเพลิดเพลินในกิจกรรมต่างๆ ลดลง

-เบื่ออาหารจนน้ำหนักลดลง หรืบางรายอาจมีความอยากอาหารเพิ่มขึ้น

-นอนไม่หลับ หรือหลับมากแทบทุกวัน นอนดึกตื่นเช้า ไม่สดชื่น

-ทำอะไรช้า พูดช้า เคลื่อนไหวช้า  หงุดหงิด กระสับกระส่าย

-อ่อนเพลียไร้เรี่ยวแรง

-รู้สึกตนเองไร้ค่าหรือรู้สึกผิดมากเกินควร

-ขาดสมาธิ

-คิดอยากตาย ไม่อยากมีชีวิตอยู่ คิดเรื่องการตายอยู่เรื่อยๆ

-ถ้ามีอาการข้างต้นอย่างน้อย 5 อาการ นาน 2 สัปดาห์ขึ้นไป และมีอารมณ์เศร้าหรือเบื่อหน่าย ควรพบแพทย์หรือรับคำปรึกษา

ความดันโลหิตสูง และไขมันในเลือดสูง

วินเวียนศีรษะ มึนงงบ่อยๆ เป็นลักษณะอาการอย่างหนึ่งของภาวะความดันโลหิตสูง หรือไขมันในเลือดสูง ไม่ควรนิ่งนอนใจเพราะเป็นสาเหตุของโรคร้ายอีกหลายโรค เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง เป็นต้น

ต้นตอของความดันและไขมันคือพฤติกรรมการกิน

ความดันโลหิตสูง เกิดจาก กินโซเดียมหรือรสเค็มจัด, อาหารสำเร็จรูปหรือแปรรูป, น้ำอัดลมและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์, เบเกอรี่และขนมหวาน สามารถป้องกันได้โดยหลีกเลี่ยงอาหารข้างต้นที่กล่าวมา ไม่สูบบุหรี่ พักผ่อนให้เพียงพอและออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ (ควรเช็คระดับความดันก่อนอกกำลังกายไม่ควรมากกว่า 200/115 mmHg)

ไขมันในเลือดสูง เกิดจาก การกินเนื้อส่วนไขมันและเครื่องในสัตว์, อาหารทะเล, อาหารทอดน้ำมัน และขนมหวาน สามารถป้องกันได้โดยกินอาหารที่มีกากใยสูง พักผ่อนให้เพียงพอ และออกกำลังกายสัปดาห์ละ 3 ครั้ง อย่างน้อย 30 นาที

ประสาทหูเสื่อม

การสัมผัสเสียงดังเปรียบเสมือนอันตรายใกล้ตัวที่คนส่วนใหญ่มองข้าม และไม่รู้ถึงผลกระทบต่อสุขภาพที่ตามมา เช่น การเปิดลำโพงทีวีเสียงดัง หรือใส่หูฟังฟังเพลงเสียงดังตลอดทั้งวัน เป็นต้น

ระดับเสียงดังมากๆ ยังเป็นสาเหตุของโรคที่คาดไม่ถึง เช่น ความดันโลหิตสูง โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด โรคเครียด นอนไม่หลับ และโรคกระเพาะเป็นต้น

จอประสาทตาเสื่อม

สายตาสั้นกับจอประสาทตาเสื่อมมีความใกล้เคียงกันมาก ซึ่งอาการของจอประสาทตาเสื่อมคือ จะรู้สึกว่าดวงตามองไม่ชัดเหมือนเดิมและจะเริ่มเป็นไปอย่างช้าๆ มีอาการตามัว มีความลำบากในการใช้สายตาอ่านหนังสือหรือทำงานที่มีความละเอียดและต้องใช้แสงมากๆ

สำหรับผู้ที่ต้องทำงานอยู่กับจอคอมพิวเตอร์อยู่ตลอดเวลาสามารถป้องกันได้โดย

1.สวมแว่นถนอมสายตา 2.ปรับแสงสว่างหน้าจอให้พอดี 3. ใช้ขนาดตัวอักษรให้ใหญ่เพียงพอและปรับความเข้มของตัวอักษรให้เหมาะสม 4.วางจอคอมพิวเตอร์ให้เหมาะสม ไม่ควรให้จอภาพอยู่สูงหรือต่ำเกินไปกว่าระดับสายตา

การมีสุขภาพที่ดีไม่ว่าจะเป็นด้านกาย ใจ สังคม ปัญญา เป็นสิ่งที่ทุกคนปรารถนา สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) มีโครงการและกิจกรรมต่างๆ ที่ส่งเสริมให้ประชาชนมีสุขภาพดีในทุกด้าน แต่สิ่งที่สำคัญคือ เริ่มจากตัวเราเองที่ต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ เพื่อการมีสุขภาพที่แข็งแรงทั้งกายและใจ

ที่มา : สสส. (สำนักงานกองทุนสนันสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ) http://www.thaihealth.or.th

อื่นๆ

ข่าวกิจกรรม
20 ตุลาคม 2566
ข่าวรถยนต์
22 กันยายน 2566
ข่าวรถยนต์
22 กันยายน 2566
ข่าวรถยนต์
25 กรกฎาคม 2566
การใช้คุกกี้ของเรา

เราใช้คุกกี้ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ของเรา และเรามีความประสงค์จะใช้คุกกี้ทางเลือกเพื่อช่วยให้เราสามารถปรับปรุงเว็บไซต์ของเรา โดยเราจะไม่ใช้คุกกี้ทางเลือกจนกว่าท่านจะอนุญาตให้เราเปิดใช้งานคุกกี้ดังกล่าว

ท่านสามารถศึกษารายละเอียดของการใช้คุกกี้ได้จากนโยบายการใช้คุกกี้ของเรา นโยบายการใช้คุกกี้ ทั้งนี้ หากท่านกดยอมรับคุกกี้ทั้งหมด จะหมายความว่าท่านยินยอมให้เราบันทึกและใช้คุกกี้ทั้งหมดจากอุปกรณ์ที่ท่านใช้ในการเข้าเว็บไซต์ของเรา รวมถึงเพื่อทำให้การเลื่อนสำรวจหน้าเว็บและการวิเคราะห์การใช้เว็บไซต์มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น รวมถึงเพื่อสนับสนุนการทำกิจกรรมทางการตลาดของเรา

ยอมรับคุกกี้ทั้งหมด