ที่ตั้งสาขา
Menu
TH EN
094 678 2888

ตรวจสุขภาพ หม้อลมเบรก เรื่องง่าย ๆ คุณก็ทำได้

หมวดหมู่: ความรู้คู่รถ | 10 เมษายน 2561 | จำนวนเข้าชม (21,223)

 

มีคำถามจากผู้ใช้รถโตโยต้า อัลติส ปี 2010 สรุปใจความได้ว่า รถมีปัญหาเบรกแข็ง เข้าไปปรึกาาช่างที่ศูนย์บริการตรวจเช็ค แล้วแจ้งว่า หม้อลมเบรกเสีย ต้องเปลี่ยน แต่ราคาแพงเอาเรื่องอยู่เหมือนกัน จึงอยากสอบถามว่าอาการดังกล่าวเกิดจาก "หม้อลมเบรก" ใช่หรือไม่ แล้วจะมีวิธีซ่อมแซมอย่างไรที่ประหยัดงบประมาณได้บ้าง สำหรับคำถามข้างต้น หากช่างตรวจสอบ ระบบเบรก ทั้งระบบแล้วทุกอย่างปกติดี "หม้อลมเบรก" ก็เป็นจำเลยของอาการเบรกแข็งดังกล่าว แต่ก่อนจะพูดถึงแนวทางการซ่อมแซม "รู้ก่อนเหยียบ"ขอนำทุกท่านมารู้จักกับเจ้า "หม้อลมเบรก" กันก่อน

“หม้อลมเบรก” (Brake Booster) มีหน้าที่สำคัญคือ ช่วยผ่อนแรงในการเหยียบเบรกทำงานด้วยระบบสูญญากาศ โดยในหม้อลมเบรกจะมีแผ่นไดอะเฟรมและจะมีท่อต่อเชื่อมกับท่อไอดี เมื่อเครื่องยนต์ทำงานจะดูดเอาอากาศเพื่อใช้ในการจุด ระเบิดผ่านท่อไอดีและท่อที่เชื่อมต่อไปยังหม้อมลมเบรกด้วย ส่งผลทำให้ภายในหม้อลมมีสภาวะเป็นสูญญากาศ และเจ้าสูญญากาศนี้เองที่เป็นตัวช่วยผ่อนแรงในการเหยียบเบรกของเราให้นุ่มนวล แต่ในทางกลับกัน เมื่อเครื่องยนต์ดับ เราจะสามารถเหยียบเบรกที่ นุ่มนวล ได้แค่ 2-3 ครั้ง จากนั้นแป้นเบรกก็จะแข็งทื่อขึ้นมาในทันทีด้วยเหตุผลที่ว่าแรงลมดูดซึ่งถูกเก็บกักไว้ในหม้อลมเบรกหมดลงนั่นเอง ดังนั้นไม่ว่าชิ้นส่วนในระบบเบรก อาทิผ้าเบรก จานเบรก จะเทพขนาดไหนแต่ถ้าหม้อลมเบรกชำรุดเสียหายชิ้นส่วนต่าง ๆ ก็ไม่สามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพได้เช่นกัน


แนวทางการซ่อมแซมแก้ไขเมื่อหม้อลมเบรกชำรุดเสียหาย

-เปลี่ยนหม้อลมเบรกใหม่ สบายใจแต่ไม่สบายกระเป๋าเนื่องจากหม้อลมเบรกใหม่แกะกล่องมีราคาที่สูงเอาเรื่องอยู่ที่เดียว

-เปลี่ยนหม้อลมเบรก มือสอง ราคาไม่แรง แต่ต้องอาศัยช่างผู้เชี่ยวชาญในการเลือกซื้อ

-ซ่อม เปลี่ยนแผ่นไดอะเฟรม ในหม้อลมบางรุ่น(ย้ำเฉพาะบางรุ่นเท่านั้น) สามารถเปิดเปลี่ยน แผ่นไดอะเฟรม ได้แต่อย่างไรก็ตามจะต้องเลือกใช้ แผ่นไดอะเฟรม ที่ได้คูณภาพมาตรฐาน

เทคนิคควรรู้

วิธีตรวจสุขภาพหม้อลมเบรกด้วยตัวเอง

-ดับเครื่องยนต์ เหยียบเบรกให้สุดแล้วปล่อย 5-6 ครั้ง จนลมสูญญากาศหมดหม้อลม แป้นเบรกจะแข็งดันเท้าขึ้นมา จากนั้นให้เหยียบเบรกค้างเอาไว้ ทั้งที่เเข็งๆ สตาร์เครื่องยนต์ เมื่อเครื่องยนต์ติดให้สังเกตว่า ถ้าแป้นเบรกต่ำลงตามแรงเยียบเบรกที่ค้างไว้ แสดง
ว่าหม้อลมเบรกยังปกติสุขดีอยู่ แต่ถ้าแป้นเบรกไม่ต่ำลงหรือสูงขึ้น แสดงว่าผิดปกติ

-ตรวจการกักเก็บลมดูด(สูญญากาศ)ในระบบ ติดเครื่องยนต์ให้เดินเบา ประมาณ 2 นาที แล้วดับเครื่องยนต์ จากนั้นเหยียบแป้นเบรกลงจนสุดแล้วปล่อย คอย 5 วินาที ทำซ้ำแบบเดิมอีก 3 ครั้ง และให้สังเกตว่าในทุกๆครั้งที่เหยียบ แป้นเบรกจะต้องสูงขึ้นกว่าเดิม
เล็กน้อยซึ่งถือว่าปกติ ด้วยเหตุผลที่ว่า ทุกครั้งที่มีการเหยียบเบรก ลมดูด (สูญญากาศ )ภายในหม้อลมจะลดลงไปเรื่อยจนหมดในที่สุด แต่หาก การเหยียบทุกครั้งแป้นเบรกเท่ากันแสดงว่ามีการรั่วซึมของระบบลมดูด (สูญญากาศ )

-ตรวจสอบการทำงานของแผ่นไดอะเฟรม ติดเครื่องยนต์ แล้วเหยียบแป้นเบรกค้างไว้ จากนั้นดับเครื่องยนต์ โดยที่ยังเหยียบแป้นเบรกค้างเอาไว้ ให้มากกว่า 30 วินาที ถ้าแป้นเบรกไม่มีการดันสูงขึ้น แสดงว่าการทำงานของ แผ่นไดอะเฟรม ยังปกติ แต่ถ้าแป้นเบรกดันเท้าสูงขึ้นมา แสดงว่าแผ่นไดอะเฟรมอาจรั่วขาด หรือหม้อลมชำรุด

ขอบคุณข้อมูลจาก : บริษัท มาสเตอร์ มอเตอร์ เซอร์วิส (ประเทศไทย) จำกัด

อื่นๆ

ข่าวกิจกรรม
20 ตุลาคม 2566
ข่าวรถยนต์
22 กันยายน 2566
ข่าวรถยนต์
22 กันยายน 2566
ข่าวรถยนต์
25 กรกฎาคม 2566
การใช้คุกกี้ของเรา

เราใช้คุกกี้ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ของเรา และเรามีความประสงค์จะใช้คุกกี้ทางเลือกเพื่อช่วยให้เราสามารถปรับปรุงเว็บไซต์ของเรา โดยเราจะไม่ใช้คุกกี้ทางเลือกจนกว่าท่านจะอนุญาตให้เราเปิดใช้งานคุกกี้ดังกล่าว

ท่านสามารถศึกษารายละเอียดของการใช้คุกกี้ได้จากนโยบายการใช้คุกกี้ของเรา นโยบายการใช้คุกกี้ ทั้งนี้ หากท่านกดยอมรับคุกกี้ทั้งหมด จะหมายความว่าท่านยินยอมให้เราบันทึกและใช้คุกกี้ทั้งหมดจากอุปกรณ์ที่ท่านใช้ในการเข้าเว็บไซต์ของเรา รวมถึงเพื่อทำให้การเลื่อนสำรวจหน้าเว็บและการวิเคราะห์การใช้เว็บไซต์มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น รวมถึงเพื่อสนับสนุนการทำกิจกรรมทางการตลาดของเรา

ยอมรับคุกกี้ทั้งหมด